หากสินค้าถูกตรวจโดยศุลกากรควรทำอย่างไร

Custom

การส่งพัสดุระหว่างประเทศเป็นธรรมดาที่สินค้าจะถูกตรวจโดยศุลกากรไม่ว่าจะเป็นการตรวจโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรฝั่งขาออก (ประเทศต้นทาง) หรือ เจ้าหน้าที่ศุลกากรฝั่งขาเข้า (ประเทศปลายทาง) เพื่อตรวจสุ่มพัสดุไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการตรวจเช็ค สินค้าต้องห้าม, รายการพัสดุ หรือมูลค่าของพัสดุที่สำแดง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ปกติสำหรับการส่งของระหว่างประเทศ

โดยปกติการส่งพัสดุไปต่างประเทศทางศุลกากรจะมีการสุ่มตรวจพัสดุ เพื่อตรวจสอบพัสดุที่ห้ามนำเข้าต่างๆ ซึ่งจะมีการตรวจมีหลากหลายรูปแบบและหลายระดับ เช่น การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสารสำแดงรายการสินค้า (Invoice) การแสกนพัสดุโดยเครื่องเอ็กซ์เรย์, การเปิดกล่องพัสดุตรวจ, การนำบางส่วนของพัสดุไปตรวจในห้องแล็บ และมีการแบ่งการตรวจเป็นหัวข้อต่างๆ เช่น

  • การตรวจพัสดุทั่วไป การสุ่มตรวจปกติหากโดยปกติทางศุลกากรจะตรวจปล่อยพัสดุภายใน 2-5 วันทำการ
  • การตรวจสอบรายละเอียดของพัสดุ เช่น ฉลากสินค้าประเภทอาหาร เช่น ส่วนผสมภาษาอังกฤษ แหล่งที่มา โรงงานผู้ผลิต เป็นต้น
  • การตรวจพัสดุแบบ Quarantine หรือการตรวจการปนเปื้อนของพัสดุที่เป็นอาหารและยา ใช้ระยะเวลาการตรวจ 5-10  วัน โดยประมาณ และมีโอกาสที่ผู้ส่งหรือผู้รับประเทศปลายทางต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม
  • การตรวจสอบมูลค่าพัสดุ โดยทางศุลกากรจะตรวจสอบจากใบสำแดงรายการและมูลค่าสินค้า (Item list & Invoice) ในเบื้องต้นก่อน และหากศุลกากรมีความสงสัยว่ามูลค่าพัสดุนั้นตรงกับมูลค่าที่สำแดงใน Invoice หรือไม่ ทางศุลกากรก็จะมีการขอเอกสารเพิ่มเติมจากผู้ส่งหรือผู้รับประเทศปลายทางเพื่อยืนยันว่ามูลค่าสินค้าตรงกับที่สำแดงไปจริง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงในการจ่ายภาษีโดยการสำแดงมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าจริง ใช้ระยะเวลาการตรวจ 2-7  วัน โดยประมาณ 

สิ่งที่ทางผู้ส่งหรือผู้รับปลายทางควรรู้เมื่อพัสดุถูกสุ่มตรวจ

Customs Clearance Documents

1. การแจ้งข้อมูลหรือส่งเอกสารเพิ่มเติมให้กับทางบริษัทตามจริง

1.1 กรณีศุลกากรสงสัย หรือ มีคำถามเพิ่มเติมในเรื่องมูลค่าของพัสดุ โดยทางผู้รับหรือผู้ส่งสามารถเตรียมเอกสารดังนี้

  • หลักฐานของคำสั่งซื้อ  เช่น ใบสั่งซื้อ หรือ หน้าแชทที่เห็นคำสั่งซื้อที่ระบุรายการพัสดุมูลค่าพัสดุ)
  • หลักฐานการชำระเงินค่าสินค้า เช่น สลิปโอนเงิน หรือ บิลเงินสด ที่ยอดตรงกับคำสั่งซื้อ

กรณีพัสดุมีมูลค่า เช่น ทองรูปพรรณ ทางบริษัทแนะนำให้ส่งแยกโดยไม่รวมกับพัสดุอื่น เนื่องจากหากพัสดุทองรูปพรรณก็จะติดตรวจสุ่มโดยศุลกากร พัสดุอื่นๆ ก็จะติดไปด้วย

1.2 กรณีมีการขอข้อมูลของพัสดุเพิ่มเติม เช่น รายละเอียดของพัสดุ หรือ ส่วนประกอบ วัตถุดิบ ผู้ส่งหรือผู้รับปลายทางจะต้องให้ความร่วมมือในการเเจ้งรายละเอียดต่างๆ 

Customs Clearance fee

2. เมื่อพัสดุถูกทิ้งและตีกลับต้องทำอย่างไร และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ? 

2.1 ในกรณีพัสดุบางส่วนไม่สามารถนำเข้าได้ เช่น พัสดุบางส่วนเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของ เนื้อวัว หมู ไก่ ไข่ นม คอลลาเจน และส่วนผสมอื่นๆ ที่ทางศุลกากรไม่อนุญาตให้นำเข้า หรือ แพคเกจของพัสดุนั้น ไม่มีฉลาก ไม่ได้มาตรฐาน และทางศุลกากรจะให้ทางเลือกว่าจะให้ทำลายพัสดุบางส่วนเฉพาะส่วนที่ไม่สามารถนำเข้าได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ จะตีพัสดุกลับทั้งหมด โดยมีค่าใช้จ่ายในการส่งกลับและค่าภาษีขาเข้า+เดินพิธีการศุลกากรขาเข้าที่ไทย

2.2 พัสดุทั้งหมดไม่สามารถนำเข้าได้เลยถึงแม้จะมีพัสดุที่สามารถนำเข้าได้ปนอยู่ด้วยก็ตาม ซึ่งในกรณีนี้มักเกิดจากการที่มีพัสดุที่ไม่สามารถนำเข้าได้เป็นจำนวนมากประมาณ 30-50 % ขึ้นไป ของพัสดุทั้งหมด ซึ่งทางศุลกากรจะให้เลือกว่าจะให้ทำลายพัสดุทั้งหมดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ จะตีพัสดุกลับทั้งหมด โดยมีค่าใช้จ่ายในการส่งกลับและค่าภาษีขาเข้า+เดินพิธีการศุลกากรขาเข้าที่ไทย

Customs Clearance Announcement

3. การแจ้งข้อมูลให้กับทางบริษัทเมื่อได้รับการติดต่อจากทางสายการบิน หรือทางศุลกากรทั้งทางการโทร ข้อความ หรือ อีเมล เพื่อทางบริษัทจะได้ช่วยประสานงานและดำเนินการต่อ 

ทางบริษัทและทางสายการบินรวมถึงผู้ส่งและผู้รับ จะไม่สามารถเร่งการทำงานของศุลกากรและไม่สามารถตัดสินใจแทนศุลกากรได้ เนื่องจากทางศุลกากรเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีสิทธิ์ขาดในการตรวจพัสดุทั้งหมด โดยทางบริษัทจะคอยเช็คสถานะพัสดุและประสานงานให้ตลอดจนพัสดุถึงมือผู้รับ

หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่สามารถทำได้เพื่อช่วยให้พัสดุผ่านขั้นตอนการเดินพิธีศุลกากรได้อย่างราบรื่น คือการให้รายละเอียดของสินค้าอย่างถูกต้องบนใบแจ้งหนี้ศุลกากร (Commercial/ Proforma) รวมถึงบนเอกสารเกี่ยวกับชิปเมนต์อื่นๆ ที่จำเป็น

เจ้าหน้าที่ศุลกากรต้องการรายละเอียดสินค้าที่ถูกต้องและครบถ้วน สิ่งของแต่ละชิ้นในพัสดุจะต้องแยกเป็นรายการๆ และมีคำอธิบายสินค้าบนใบแจ้งหนี้ด้วย

คำอธิบายสินค้าควรมีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับลักษณะเจาะจงของสิ่งของชิ้นนั้น และต้องใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เมื่อคุณเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าบนใบแจ้งหนี้ จะต้องให้คำอธิบายดังนี้

  • รายละเอียดของพัสดุ เช่น ส่วนประกอบ สามารถให้รายละเอียดที่เจาะจงเพิ่มขึ้นได้ด้วย ยกตัวอย่าง เสื้อยืดผู้หญิงทำจากผ้าฝ้าย
  • วัตถุประสงค์ของการส่งของสิ่งนั้นคืออะไร
  • ใช้พิกัดศุลกากร (HS code) อะไร

เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเดินพิธีศุลกากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะตรวจทานข้อมูล เช่น ฉลากการจัดส่งและใบแจ้งหนี้ศุลกากร (Commercial/ Proforma) หากคุณให้ข้อมูลผ่านรูปแบบการพิมพ์บนกระดาษหรือสแกนและส่งมาให้ดีเอชแอล รายละเอียดนั้นจะถูกพิมพ์ซ้ำด้วยมือกลับเข้าไปในระบบศุลกากร ซึ่งเพิ่มระยะเวลาในขั้นตอนการเดินพิธีศุลกากร แต่ถ้าหากเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้รับข้อมูลชิปเมนต์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่จะสามารถเริ่มขั้นตอนการเดินพิธีได้โดยทันที

คุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในขั้นตอนการเดินพิธีศุลกากรได้ด้วยการให้รายละเอียดเกี่ยวกับชิปเมนต์ของคุณ รวมถึงรายละเอียดใบแจ้งหนี้ศุลกากรให้กับดีเอชแอลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

การให้ข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้
  • เพิ่มคุณภาพการให้บริการระดับสูง และสามารถจัดการชิปเมนต์ได้ในเวลาที่เหมาะสม
  • ขั้นตอนการเดินพิธีศุลกากรมีความรวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น
  • ขั้นตอนการเดินพิธีศุลกากรเริ่มขึ้นได้ก่อนที่ชิปเมนต์จะเดินทางมาถึง
  • ขั้นตอนศุลกากรมีความถูกต้องและสมบูรณ์ รวมถึงเป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด
  • หลีกเลี่ยงความไม่สะดวกในการเพิ่มข้อมูลด้วยมือ
  • หลีกเลี่ยงความล่าช้าในการเดินพิธีศุลกากร เนื่องจากความผิดพลาดหรือข้อมูลไม่ครบถ้วน
  • สนับสนุนให้เกิดการประเมินความเสี่ยง เช่น การระบุสินค้าอันตราย

หากคุณต้องการ ส่งสินค้าไปต่างประเทศ และอยากลดโอกาสที่สินค้าติดกรมศุลกากร ควรจะมีที่ปรึกษาในการให้คำแนะนำในการยื่นเอกสาร และผู้ประสานงานในการติดต่อกรมศุลกากรประเทศปลายทางที่จัดส่ง ซึ่ง Sabuy Express ก็ยินดีให้คำปรึกษาในการจัดทำเอกสาร เพื่อการจัดส่งสินค้าให้ราบรื่น

แหล่งอ้างอิง

  1. สินค้าติดกรมศุลกากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 จาก https://www.customs.go.th/cont_strc_simple.php?xleft_menu=menu_business_160421_02_160421_01_160914_01&ini_menu=menu_business_160421_02&ini_content=business_160426_02_160426_01&root_left_menu=menu_business_160421_02_160421_01&lang=th&left_menu=menu_business_160421_02_160421_01
Share