การค้าระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่นักธุรกิจหลายคนให้ความสนใจ โดยไม่ได้มีประโยชน์แค่ในแง่ของการเสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการส่งออกของไทยที่ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจ คือเรื่องของสิทธิทางภาษี GSP (Generalized System of Preferences) หรือระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรทั่วไป ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการตั้งราคาสินค้าในตลาดโลกให้แก่ผู้ประกอบการไทย
GSP Thailand คืออะไร ?
GSP เป็นมาตรการทางการค้าที่ประเทศพัฒนาแล้วมอบให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ โดย GSP เป็นการให้สิทธิทางภาษีในรูปแบบของการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีศุลกากรขาเข้าสำหรับสินค้าบางประเภท ช่วยให้สินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งประเทศปลายทางที่ให้สิทธิพิเศษในการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีศุลกากรอาจมีการพิจารณาระงับ หรือถอดถอนสิทธิ GSP ของสินค้าบางประเภทชั่วคราวได้ หากมีเงื่อนไข หรือประเด็นที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ดังเช่นในปี 2561 ที่สหรัฐอเมริกาได้ทำการระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับสินค้าไทยในหลายรายการเป็นเวลา 6 เดือน ด้วยสาเหตุที่ไทยไม่ดำเนินการในประเด็นเรื่องสิทธิแรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึงในปี 2563 สิทธิ GSP ของสินค้าอีกหลายประเภทก็ได้ถูกระงับและหมดอายุไป ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีการหารือและพูดคุยถึงกระบวนการในการต่ออายุโปรแกรม GSP Thailand กับสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง
สิทธิ GSP ของไทย มีอะไรบ้าง ?
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับสิทธิ GSP จากหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) โดยสินค้าไทยที่ได้รับสิทธิ GSP ครอบคลุมสินค้าหลากหลายประเภท ยกตัวอย่างสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกไปยังสหรัฐฯ ภายใต้สิทธิ GSP 5 อันดับแรก ในปี 2566 ได้แก่
- ถุงมือยาง
- อาหารปรุงแต่ง
- พลาสติกปูพื้นทำด้วยโพลิเมอร์ของไวนิลคลอไรด์
- หีบเดินทางขนาดใหญ่หรือกระเป๋าใส่เสื้อผ้า
- กรดมะนาวหรือกรดซิทริก
- นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่กฎหมายสหรัฐฯ ห้ามนำเข้าไปอยู่ในโปรแกรม GSP คือ
- สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
- สินค้านาฬิกาบางรายการ ยกเว้นรายที่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย
- สินค้าที่สหรัฐฯ จัดให้เข้าข่ายเป็นสินค้า Import- sensitive ซึ่งได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเหล็ก สินค้าแก้ว
- สินค้ารองเท้า
- สินค้ากระเป๋าถือและกระเป๋าเดินทาง
- สินค้าประเภท Flat Goods
- สินค้าถุงมือสำหรับทำงาน
- สินค้าเสื้อผ้าทำด้วยหนัง
ดังที่กล่าวไว้ว่าสิทธิพิเศษ GSP จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประเทศที่ให้สิทธิ ดังนั้น ข้อมูลในส่วนนี้จึงควรได้รับการตรวจสอบและอัปเดตอยู่เสมอ
ประโยชน์ของสิทธิทางภาษี GSP ต่อประเทศไทย
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีสิทธิทางภาษี สามารถผลักดันให้เศรษฐกิจไทยพัฒนาและเติบโต ซึ่งจะสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลในหลายประการ ดังนี้
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า
ลองจินตนาการว่า หากต้องเสียภาษีศุลกากรในอัตรา 10% เมื่อส่งออกไปยังประเทศเป้าหมาย ราคาสินค้าก็จะเพิ่มขึ้น 10% โดยอัตโนมัติ ซึ่ง GSP จะช่วยลดต้นทุนสินค้าไทยเมื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกไทยไม่จำเป็นต้องเสียภาษีศุลกากร หรือเสียในอัตราที่ต่ำลง ทำให้สามารถตั้งราคาสินค้าที่เหมาะกับการแข่งขัน เพื่อดึงดูดใจผู้บริโภคในต่างประเทศ
กระจายรายได้
โดยเป็นผลประโยชน์จากขีดความสามารถในการแข่งขัน ที่เปิดโอกาสให้สินค้าจากประเทศไทยสามารถตั้งราคาได้โดยไม่ต้องเพิ่มอัตราภาษี ซึ่งส่งผลต่อกำไรและยอดขาย ทำให้ผู้ส่งออกไทยสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น
กระตุ้นการส่งออก
GSP ช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการไทยหันมาให้ความสำคัญกับการส่งออก เพิ่มแรงจูงใจที่จะลงทุน ไปจนถึงการพัฒนากระบวนการผลิต ยกระดับคุณภาพสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ
สิทธิ GSP ของไทยเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการส่งออก แต่ต้องมีการศึกษาค้นหาข้อมูลอย่างรอบคอบอยู่เสมอเพื่ออัปเดตข้อมูลและหาลู่ทางการส่งออกโดยอาศัยสิทธิทางภาษีเหล่านี้ หรือหากต้องการทางเลือกการส่งออกที่ส่งผลต่อการตั้งราคาสินค้าอย่างยั่งยืน สามารถเริ่มต้นเปิดโอกาสส่งของไปอเมริกาในราคาที่ถูกลงได้ กับสบาย เอ็กซ์เพรส (Sabuy Express) ที่ให้บริการส่งพัสดุไปต่างประเทศอย่างครบวงจร พร้อมดูแลครบจบอย่างครอบคลุม ตั้งแต่การให้คำปรึกษา ขอใบอนุญาต ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ 02-026-8996 หรือ https://lin.ee/E6PHauT
แหล่งอ้างอิง
- โค้งสุดท้ายปี 2566 ไทยใช้สิทธิ GSP ส่งออกไปสหรัฐ 2,865.27 ล้านเหรียญสหรัฐ. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.prachachat.net/economy/news-1498388
- สหรัฐอเมริกากำลังดำเนินการหาทางต่ออายุโปรแกรม Generalized System of Preferences (GSP). สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 จาก https://www.ditp.go.th/en/post/160614